เมนู

กับเสาประโคนคือพระสมาธิ เหตุดังนั้นจะว่าพระอรหันต์เจ้าเสวยเวทนาอันเกิดแต่กายสิ่งเดียว
มิได้เสวยเวทนาอันเกิดแต่จิต บพิตรพระราชสมภารพึงเข้าพระทัยด้วยประการดังนี้
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีได้ทรงฟังดังนี้ ก็มีพระทัยสิ้นพระกังขา จึงซ้องสาธุ
การดุจนัยหนหลัง
อรโห กายิกเจตสิกเวทนาปัญหา คำรบ 1 จบเพียงนี้

กายิกเจตสิกเวทนาย นานากรณปัญหา ที่ 2


ราชา อาห

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้าอันประกอบไปด้วยบวรปรีชาญาณ โยมนี้รำพึงการไปก็ให้บังเกิดสงสัย
ด้วยจิตของพระอรหันต์เจ้านี้ เมื่อกายไหว เหตุไรจึงมิได้ไหวไปด้วย น่าอัศจรรย์ใจนักหนา
นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนถวายพระพรวิสัชนาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
เปรียบปานดุจดังต้นไม้อันใหญ่ประกอบไปด้วยใบกิ่งก้านร่มเงา สาขา จลติ เมื่อกิ่งก้านนั้นเล่าจะ
หวั่นไหว จะไหวสะเทือนถึงลำต้นหรือไม่ เมื่อกิ่งไหวแล้วต้นไม้นั้นจะไหวด้วยหรือ หรือว่าหามิได้
นะบพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า น หิ ภนฺเต ข้าแต่พระผู้
เป็นเจ้า ใช่ว่ากิ่งไหวแล้วจะไหวถึงลำต้นหามิได้ เพราะต้นไม้นั้นใหญ่จึงไหวแต่กิ่ง
พระนาคเสนเถระจึงเปรียบว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
ข้อความประการนี้มีอุปมาฉันใด ทุกฺขา เวทนาย ผุฏฺโฐ เมื่อพระอรหันต์เจ้าเสวนเวทนาเจ็บปวด
ลำบากนั้น จิตพระอรหันต์มิได้รู้หวั่นไหว เหตุว่าเห็นพระไตรลักษณญาณ คือพระอนิจจัง
พระทุกขัง พระอนัตตา ผูกจิตอาตมาไว้กับเสาประโคนใหญ่คือพระสมาธิ เปรียบดุจต้นไม้ใหญ่
อันไหวแต่กิ่ง ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชาสาคลราชธานี ได้ทรงฟังดังนี้ก็ชื่นชมยินดีซ้องสาธุการ
ต่าง ๆ เหมือนนัยหนหลัง
กายิกเจตสิกเวทนาย นานากรณปัญหา คำรบ 2 จบเพียงนี้

อภิสมยัมตรายกราปัญหา ที่ 3


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี จึงมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชาญาณยิ่งบัณฑิตอุดมโลกธีรชาติ โย โกจิ คีหิ คฤหัสถ์ฆราวาสทั้งปวง
ในโลกนี้ คฤหัสถ์ผู้ใดผู้หนึ่งถึงซึ่งภาวะเป็นปาราชิกแล้วบวชเข้าในบวรพุทธศาสนาอีก ที่สัตย์
ที่จริงนั้นจะรู้ตัวว่าเป็นปาราชิกก็หามิได้ ผู้หนึ่งผู้ใดก็มิได้ล่วงเห็นว่าเป็นปาราชิก มิได้ให้สติ
ตักเตือนทัดทานบอกกล่าวว่าท่านเป็นปาราชิกท่านกระทำผิดสิ่งนี้ และคฤหัสถ์ที่เป็นปาราชิกนั้น
ก็สำคัญว่าบริสุทธิ์เป็นอันดี กระทำความหมั่นมักภักดีอุตส่าห์ปฏิบัติ เพื่อจะให้ตรัสรู้ซึ่งธรรมา-
ภิสมัยมรรคผลอันควรจะรู้นั้น ตกว่าคฤหัสถ์ที่เป็นปาราชิกนั้นจะสำเร็จแก่ธรรมาภิสมัยมรรคผล
หรือ หรือว่าหามิได้
พระนาคเสนวิสัชนาว่า น หิ มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร คฤหัสถ์
ที่ตั้งอยู่ในปาราชิก ฐานเป็นปาราชิกนั้น ถึงว่าจะปฏิบัติไป จะได้สำเร็จซึ่งธรรมาภิสมัยมรรค
ผลหามิได้ ขอถวายพระพร
พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสซักไซ้ว่า เหตุไฉนจึงเป็นกระนั้น
พระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงวิสัชนาว่าดังนี้ว่า โย ตสฺส ธมฺมาภิสมยาย ขอถวายพระพร อัน
ว่าธรรมาภิสมัยมรรคผลหนทางพระโลกุดร ย่อมบังเกิดถาวรแก่บุคคลอันมีศีลบริสุทธิ์ เมื่อเป็น
ปาราชิกแล้วมีศีลอันขาดสิ้นแล้ว ธรรมาภิสมัยก็คลาดแคล้วไปไม่บังเกิดแก่ผู้เป็นปาราชิกนั้น
นะบพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้ปรีชาญาณ โยมเห็นว่าคนซึ่งเป็นปาราชิกนั้น รู้ว่าตัวเป็นปาราชิกแล้วก็ยังเกิดสงสัยว่า
อาตมาเป็นปาราชิก ที่ไหนอาตมาจะได้สำเร็จแก่ธรรมาภิสมัย คนผู้นั้นสงสัยอยู่ฉะนี้จึงจะมิได้
มรรคผล นี่คนที่เป็นปาราชิกนั้นเขาไม่รู้ตัวว่าเป็นปาราชิก ไม่สงสัย บาปธรรมสิ่งไรจะกันไว้
มิให้ได้มรรคผลนั้น ปัญหานี้ผู้เป็นเจ้า โยมนี้เห็นไม่สมด้วยลักษณะ จะไม่ได้ธรรมาภิสมัยมรรค
ผลก็ต่อเมื่อมีความสงสัย นี่เขาเป็นปาราชิกแล แต่ทว่าเขาไม่รู้ตัวเขาไม่สงสัย เหตุไฉนจึงไม่
ได้ธรรมาภิสมัยมรรคผล นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนถวายพระพรวิสัชนาว่า มหาราช ดูกรบพิตรพระราชสมภาร เปรียบ
เหมือนพืชอันบุคคลหว่านลงในนาอันดี พืชที่หว่านนั้นจะงอกหรือ หรือว่าหามิได้